ข่าวประชาสัมพันธ์ 26 มีนาคม “วันโรคลมชักโลก” หนึ่งวันสำคัญของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่ไม่อยากให้ลืม

ข่าวประชาสัมพันธ์ 26 มีนาคม “วันโรคลมชักโลก” หนึ่งวันสำคัญของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่ไม่อยากให้ลืม แพทย์ไทยย้ำผู้ป่วยโรคลมชักมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่กลับเป็นโรคที่กำลังถูกมองข้าม ทั้งที่แท้จริงแล้วพบผู้ป่วยมากกว่า 6-7 แสนคนในประเทศไทย ทั้งเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ปัจจุบัน วงการแพทย์ทั่วโลกกำหนดให้วันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันโรคลมชักโลก (World Epilepsy Day) โดยมีดอกลาเวนเดอร์สีม่วงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนผู้ป่วย พร้อมกับเน้นย้ำควรให้ความสำคัญกับผู้ป่วย และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมชักว่าไม่ได้เป็นโรคที่น่ารังเกียจ สามารถรักษาให้หายได้ หากผู้ป่วยดูแลตัวเองเพียงพอ รวมถึงครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยยืนอยู่ในสังคมได้อย่างไม่แปลกแยก พ.อ. (พิเศษ) ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เปิดเผยว่า โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ  ซึ่งในปัจจุบันพบผู้ป่วยในประเทศไทยเป็นจำนวน 6-7 แสนคน หรือประมาณว่าใน 100 คน จะพบ 1 คนที่เป็นโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติจากกระแสไฟฟ้าภายในสมอง สมอง ของคนเราจะมีการทำงานของเซลล์ประสาท ซึ่งเซลล์ประสาทจะทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าในสมองส่งต่อ ถ้ากระแสไฟฟ้าภายในสมองมีความผิดปกติเกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งอาการชักมีหลากหลายอาการด้วยกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งสมองที่มีความผิดปกติ อาทิ อาการชักเฉพาะแบบที่ขาดสติ … Continue reading ข่าวประชาสัมพันธ์ 26 มีนาคม “วันโรคลมชักโลก” หนึ่งวันสำคัญของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่ไม่อยากให้ลืม